วันพุธที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ฝ้า คืออะไร

ฝ้าคืออะไร
โดย พญ. เจษฎี โกศลพันธ์


ฝ้าเป็นปัญหาทางผิวหนังที่พบได้บ่อย ถึงแม้ว่าจะไม่มีอันตรายต่อร่างกายแต่พบว่ามีผลต่อบุคลิกภาพและสุขภาพจิตอย่างมาก
ฝ้า คือ ปื้นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีน้ำตาลเข้ม พบที่แก้ม หน้าผาก จมูก เหนือริมฝีปาก คาง นอกจากนี้อาจพบได้ที่คอ และแขนด้านนอก มักเป็น 2 ข้างเท่าๆกัน พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะในระหว่างตั้งครรภ์ และในวัย 30-40 ปีขึ้นไป


ฝ้าเกิดจากอะไร
เกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสี ซึ่งอยู่ในชั้นหนังกำพร้า มีการสร้างเม็ดสีเมลานินเพิ่มขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น
แสงแดด เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการกระตุ้นทำให้เกิดฝ้า และมีส่วนสำคัญที่ทำให้ ฝ้าเข้มขึ้นอีกด้วย เชื่อว่าเกิดจากแสงอัลตราไวโอเลต A,B และ Visible Light จึงควรหลีกเลี่ยงแสงแดดโดยเฉพาะช่วงเวลา 10.00 - 15.00 น.
ฮอร์โมน การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในระหว่างการตั้งครรภ์หรือได้ยาคุมกำเนิดทำให้มีโอกาส เป็นฝ้าได้มาก นอกจากนี้ฮอร์โมนและสารเคมี บางอย่างในเครื่องสำอางค์รวมทั้งน้ำหอมก็มีส่วนทำให้เกิดฝ้าได้
พันธุกรรม อาจมีส่วนเกี่ยวข้องในผู้ที่เป็นฝ้าที่อยู่ในครอบครัวเดียวกัน
ยา เช่น ยากันชัก เป็นต้น

การรักษาที่ถูกต้อง ทำอย่างไร
หลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเกิดฝ้า ที่สำคัญคือ หลีกเลี่ยงแดดเท่าที่ทำได้ รวมทั้งหลีกเลี่ยง ฮอร์โมนในยาคุมกำเนิดด้วย
ใช้ยากันแดด ที่มีคุณภาพอย่างสม่ำเสมอตลอดไป เพื่อป้องกันไม่ให้ฝ้าเข้มขึ้นอีก
ทายาให้ฝ้าจางลง เพื่อลดการทำงานของเซลล์สร้างสี และเร่งเซลล์ผิวหนังชั้นบนซึ่งมีเม็ดสี เมลานินที่สร้างขึ้นมาแล้วให้หลุดลอกออกไป ยาฝ้าในปัจจุบันมักประกอบด้วยสารหลายชนิดที่สำคัญคือ ไฮโดรควิโนน กรดวิตามินเอ และสารสตีรอยด์ เป็นยาฝ้าที่มีประสิทธิภาพดี แต่อาจเกิดผลข้างเคียงจากการระคายเคืองได้ จึงควรอยู่ในการดูแลของแพทย์
การรักษาฝ้าที่ถูกต้อง ต้องทายาให้สม่ำเสมอ และต่อเนื่องจนกว่าฝ้าจะจางลง โดยให้ทาในส่วนที่เป็นฝ้าก่อนนอนทุกคืน เมื่อรอยฝ้าจางหายไปแล้วให้ทาสัปดาหฺ์ละ 1-2 ครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ฝ้าเกิดขึ้นอีก
นอกจากนี้ ยังมีการพํฒนาการรักษาฝ้าโดยการใช้สารเคมีอื่นๆ เช่น กรดโคลิก กรดอะเซติก เป็นต้น อย่างไรก็ตามผลยังไม่ดีนัก บางครั้งแพทย์อาจใช้ยาทาเพื่อลอกหน้าร่วมกับยาทาฝ้าและในบางกรณีอาจพิจรณาใช้แสงเลเซอร์ในการรักษาฝ้าด้วย
ฝ้าเป็นปัญหาที่พบบ่อย ใบหน้าที่เป็นฝ้าดูหมองคล้ำ จึงทำให้เป็นปัญหาที่สำคัญต่อบุคลิกภาพเป็นอย่างยิ่ง ความรู้ความเข้าใจ และการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องตามหลักการแพทย์ทำให้การรักษาฝ้าที่ปลอดภัยและได้ผลอย่างแท้จริง และยังเป็นหนทางให้ผิวพรรณมีสุขภาพที่ดีตลอดไป
ที่มา : เอการจากโรงพยาบาล พญาไท 2

กวาวเครือขาว สมุนไพรไทยช่วยเลือดลมไหลเวียน เพิ่มความอึ๋ม


กวาวเครือขาว เป็นยาอายุวัฒนะสำหรับผู้สูงอายุใช้ได้ทั้งหญิงและชาย (คนหนุ่มสาวห้ามรับประทาน)ทำให้กระชุ่มกระชวยฃ

  • ทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่นกลับเต่งตึงมีน้ำมีนวล
  • ช่วยเสริมอก กระตุ้นเต้านมขยายตัว โดยเฉพาะกวาวเครือขาว
  • ช่วยให้เส้นผมที่หงอกกลับดำ และเพิ่มปริมาณเส้นผม

  • แก้โรคตาฟาง ต้อกระจก

  • ทำให้ความจำดี
  • ทำให้มีพลัง การเคลื่อนไหวการเดินเหินจะคล่องแคล่ว
  • ช่วยบำรุงโลหิต
  • ช่วยให้รับประทานอาหารมีรสชาติอร่อย

    งานวิจัยเกี่ยวกับ กวาวเครือ ส่วนใหญ่เน้นไปที่การศึกษาผลคล้ายฮอร์โมน estrogen ของสมุนไพรหรือสิ่งสกัดจากสมุนไพรชนิดนี้ ซึ่งผลการทดลองเกือบทั้งหมดเป็นการศึกษาในสัตว์ทดลอง ยังมีการศึกษาในมนุษย์น้อยมาก งานวิจัยในช่วงแรกๆมุ่งไปที่การศึกษาฤทธิ์ของสาร miroestrol ซึ่งพบว่าในสัตว์ทดลอง สารนี้มีฤทธิ์ประมาณ 2 ใน 3 ของ stilbestrolเมื่อทดลองให้หนูถีบจักรที่ยังไม่โตเต็มที่กินสารนี้เข้าไป และมีฤทธิ์ราว 70% ของสาร 17b-estradiol เมื่อให้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังของหนูขาว แต่เมื่อให้โดยวิธีเดียวกันนี้กับหนูถีบจักร พบว่ามีฤทธิ์เป็น 2.2 เท่าของสาร estrone ผลการทดลองในสตรีที่ประจำเดือนไม่มาตามปกติ 10 คน โดยให้สารนี้ในขนาด 1 และ 5 มก. วันละ 6 ครั้ง พบว่าสารนี้แสดงฤทธิ์เป็น estrogen อย่างรุนแรง โดยแสดงผล 2-3 สัปดาห์หลังจากเริ่มให้สารนี้ และในบางกรณีสามารถทำให้ประจำเดือนมาหลังจากหยุดให้สาร 7-18 วัน อาการข้างเคียงที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน บางรายมีอาการทรวงอกขยายใหญ่ขึ้น และอาการจะเห็นได้ชัดเมื่อใช้ขนาดที่สูง
    ภายหลังมีการพบสารกลุ่ม isoflavones หลายตัวได้แก่ genistein, daidzein รวมทั้งglycosides ของสารนี้ในหัวกวาวเครือขาว ซึ่งสารเหล่านี้จัดได้ว่าเป็น phytoestrogensซึ่งแสดงฤทธิ์ในลักษณะของฮอร์โมนเพศหญิงได้เช่นกัน